HOME

วันพฤหัสบดีที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2555

LuckyMan (1-16 จบ)


LuckyMan - ไอ้ตัวโชคดีในความโชคร้ายของคนอื่น
การ์ตูนเก๊า~~เก่า ที่ขุดเอามานั่งอ่านใหม่เมื่อสองสามวันที่ผ่านมา ด้วยความรู้สึกที่ว่า จำได้ว่ามันตลก แต่จำอะไรในเรื่องไม่ค่อยได้เลย เลยขุดเอามาอ่านใหม่
ผลงานเก่าของ อ.ฮิโรชิ  กาโม่ (นามปากกา) หรือในชื่อปัจจุบันคือ...
อ.โอบะ ซึงุมิ ผู้แต่งเรื่องให้กับเรื่อง Death Note !!

สมัยลงใน Boom แรกๆ คนอ่านแทบจะเขวี้ยงทิ้งตั้งแต่แรก (ผมคนนึง) เพราะลายเส้นที่ดูแล้วยิ่งกว่าชินจังช่วงเขียนใหม่ ๆ ซะอีก แต่อ่านไปซักพักก็จะเริ่ม get ว่าทำไมเรื่องนี้ถึงได้ลงใน jump เพราะความแปลกใหม่ของมุขที่พระเอกอาศัยแต่ความลัคกี้ของพระเอก ที่เอาชนะมนุษย์ต่างดาวสุดร้ายตะละตัว และำพอดำเนินเรื่องไปได้ซัก 3-4 เล่มก็เริ่มดำเนินเรื่องตามสูตรการ์ตูนแอคชั่น คือ จับคู่ประลอง ศัตรูกลายเป็นเพื่อน ศัตรูใหม่โผล่มาร้ายกว่า ที่ต่างไปคือ พระเอกยังคงชนะด้วยความโชคดีล้วนๆ ฝีมือแทบไม่มีการพัฒนา = =

ส่วนตัวคิดว่า จุดเด่นของเรื่องนี้คือมุขที่ให้พระเอกชนะด้วยความลัคกี้ล้วนๆตั้งแต่ต้นจนจบเรื่อง ไม่ว่าศัตรูจะโคตรพ่อเก่งกาจขนาดไหน ทำให้ใครๆก็จดจำการ์ตูนที่ชื่อลัคกี้แมนได้ แต่นอกนั้นแล้ว ก็ไม่ค่อยประทับใจอะไรกับการ์ตูนเรื่องนี้นัก 2 เล่มแรกเหมือนหนังขบวนการห้าสี ศัตรูโผล่ วางแผนร้าย พระเอกโผล่ ลัคกี้ ชนะศัตรูหนึ่งตัว จบตอน ไปเรื่อยๆ (พอเริมชินกับมุขก็เริ่มเบื่อ) เพราะความที่พระเอกมันชนะได้ทุกคน ไม่ว่าใคร ด้วยความลัคกี้ พอเล่ม 3 ก็เริ่มเพิ่มตัวละคร และก็เริ่มให้ตัวละครอื่นมามีบทสู้ อ่านไปอ่านมา เริ่มนึกถึงคินนิคุแมน ทั้งพระเอกที่ชนะด้วยความโชคดี (แต่คินนิคุแมนไม่ขนาดนี้) จับคู่ประลอง พลังมิตรภาพ ฮีโร่ที่ดัดแปลงมาแบบจงใจแซวอุลตร้าแมน ศํตรูหน้าตาประหลาดที่ให้ทางบ้านส่งดีไซน์ หน้าตาตัวละครฮีโร่ชินที่ไปแก้ดีไซน์ทีหลังหลังจากโผล่มาได้ซักพัก ศัตรูขนาดยักษ์ที่ยัดตัวเองเข้าไปในชุดด้านนอกเล็กจิ๋ว พอลอกคราบแล้วกลายเป็นคนละไซส์ etc.

นอกจากนั้น ในเล่มแรกๆยังมีส่วนที่อ่านแล้วขัดๆกับความเป็นการ์ตูนเด็ก คือ เน้นพระเอกที่อาศัยโชคล้วนๆ เก่งกว่าลูกศิษย์ผู้เน้นความอุตสาหะอย่างโดเรียคุแมน จนรู้สึกว่าความพยายามไร้ความหมาย พระเอกที่ตามจีบมิตจังซึ่่งเป็นนางเอก (เด็ก ม.ต้นที่สวยที่สุดในญี่ปุ่น) แต่นิสัยเสียพอสมควร (แต่ก็ยังเป็นนางเอก เพราะสวย) แล้วพระเอกในร่างคนก็โดนเดสโยะจัง (เด็ก ม.ต้นที่น่าเกลียดที่สุดในญี่ปุ่น) ตามจับ (ก็วาดได้น่าเกลียดจริงๆในหลายๆฉาก มันดูอนาถจนไม่ควรเป็นการ์ตูนเด็ก) ถึงจะบอกว่าเป็นการ์ตูน แต่คิดว่าคนเขียนเองคงโดน feedback บ้าง ช่วงหลังๆจึงไม่มีเรื่องพวกนี้นัก และลดภาพที่ขัดลูกตาลง แต่มาเน้นมิตรภาพ ความถูกต้องมากขึ้น ตามสไตล์การ์ตูนเด็กที่ดี


สรุปว่า การ์ตูนเรื่องนี้ ก็ ok อ่านเพลินๆได้ มีมุขตลกเรื่อย ๆ และจะเริ่มสนุกขึ้นในช่วงเล่ม 3-4 ที่เริ่มดำเนินเรื่องตามสูตร มีความแปลกใหม่ที่่พระเอก แต่นอกนั้นก็เหมือนการ์ตูนสูตรทั่วไป

การ์ตูนเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า : คนคำนวณ หรือจะสู้ฟ้าลิขิต
ไอน์สไตน์หรือขงเบ้งมาอ่านคงเศร้าใจพิลึก :D

เล่ม 1
เล่ม 2
เล่ม 3
เล่ม 4
เล่ม 5
เล่ม 6
เล่ม 7
เล่ม 8
เล่ม 9
เล่ม 10
เล่ม 11
เล่ม 12
เล่ม 13
เล่ม 14
เล่ม 15
เล่ม 16

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น